มีอยู่ด้วยกัน 3 ประเภท
วงปี่พาทย์
วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเครื่องเป่า คือ ปี่ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และยังมีเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ปี่พาทย์นี้บางสมัยเรียกว่า "พิณพาทย์" วงปี่พาทย์อาจจำแนกประเภทแตกต่างกันไป แต่ที่พอจะรวบรวมได้
มีทั้งสิ้น 8 แบบ
มีทั้งสิ้น 8 แบบ
1. วงปี่พาทย์เครื่องห้า
เป็นวงปี่พาทย์ที่เป็นวงหลัก มีจำนวนเครื่องดนตรีน้อยชิ้นที่สุด ดังนี้
-ปี่ใน 1 เลา
-ระนาดเอก 1 ราง
-ฆ้องวงใหญ่ 1 วง
-กลองทัด 2 ลูก
-ตะโพน 1 ลูก
-ฉิ่ง 1 คู่ (ในบางกรณีอาจใช้ฉาบ กรับ โหม่งด้วย)
2. วงปี่พาทย์เครื่องคู่
เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ
ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดง
หนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม
วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้
-ปี่ 1 คู่ คือ ปี่ในและปี่นอก
-ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
-ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
-กลองทัด 1 คู่
-ตะโพน 1 ลูก
-ฉิ่ง 1 คู่
-ฉาบเล็ก 1 คู่
-ฉาบใหญ่ 1 คู่
-โหม่ง 1 ใบ
-กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน) และในบางกรณีอาจใช้กรับด้วย
3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาด บางวงก็เพิ่มกลองทัด
รวมเป็น 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่อง
ใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย เช่น
-ภาษาเขมร ใช้ โทน
-ภาษาจีน ใช้ กลองจีน กลองต๊อกแต๋ว
-ภาษาฝรั่ง ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (side drum, snare drum)
-ภาษาพม่า ใช้ กลองยาว
-ภาษามอญ ใช้ ตะโพน เปิงมาง
เป็นวงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยเครื่องทำทำนองเป็นคู่เนื่องด้วยในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีผู้คิดเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีก 2 อย่าง คือ
ระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็ก และนำเอาปี่นอกซึ่งใช้ในการบรรเลงปี่พาทย์สำหรับการแสดง
หนังใหญ่สมัยโบราณมารวมเข้ากับวงปี่พาทย์เครื่องห้าที่มีอยู่เดิม
วงปี่พาทย์เครื่องคู่มีเครื่องดนตรีดังนี้
-ปี่ 1 คู่ คือ ปี่ในและปี่นอก
-ระนาด 1 คู่ คือ ระนาดเอกและระนาดทุ้ม
-ฆ้องวง 1 คู่ คือ ฆ้องวงใหญ่และฆ้องวงเล็ก
-กลองทัด 1 คู่
-ตะโพน 1 ลูก
-ฉิ่ง 1 คู่
-ฉาบเล็ก 1 คู่
-ฉาบใหญ่ 1 คู่
-โหม่ง 1 ใบ
-กลองสองหน้า 1 ลูก (บางทีใช้กลองแขก 1 คู่ แทน) และในบางกรณีอาจใช้กรับด้วย
3. วงปี่พาทย์เครื่องใหญ่
เป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ที่เพิ่มระนาดเอกเหล็กกับระนาด บางวงก็เพิ่มกลองทัด
รวมเป็น 3 ใบบ้าง 4 ใบบ้าง ส่วนฉาบใหญ่นำมาใช้ในวงปี่พาทย์ในรัชสมัย
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว วงปี่พาทย์ทั้งเครื่องห้า เครื่องคู่ และเครื่อง
ใหญ่ ถ้ามีการบรรเลงเพลงภาษาจะใช้เครื่องดนตรีกำกับจังหวะของภาษานั้น ๆ ด้วย เช่น
-ภาษาเขมร ใช้ โทน
-ภาษาจีน ใช้ กลองจีน กลองต๊อกแต๋ว
-ภาษาฝรั่ง ใช้ กลองมริกัน (อเมริกัน) หรือกลองแตร็ก (side drum, snare drum)
-ภาษาพม่า ใช้ กลองยาว
-ภาษามอญ ใช้ ตะโพน เปิงมาง
4. วงปี่พาทย์นางหงส์
เป็นวงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม (ดู วงบัวลอย ประกอบ) โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกับวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยู่เดิม เรียกว่า "วงปี่พาทย์นางหงส์"
วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า "ออกภาษา" ด้วย
เป็นวงปี่พาทย์ธรรมดาซึ่งใช้บรรเลงทั่วไป แต่เมื่อนำมาใช้ประโคมในงานศพ จะนำวงบัวลอยซึ่งประกอบด้วยปี่ชวา 1 เลา กลองมลายู 1 คู่ และเหม่ง 1 ใบ ที่ใช้ประโคมในงานศพเข้ามาผสม (ดู วงบัวลอย ประกอบ) โดยตัดปี่ใน ตะโพน และกลองทัด ออก ใช้ปี่ชวาแทนปี่ใน ใช้กลองมลายูแทนตะโพนและกลองทัด ส่วนเหม่งนั้นมีเสียงไม่เหมาะกับวงปี่พาทย์จึงไม่นำมาใช้ ใช้แต่โหม่งซึ่งมีอยู่เดิม เรียกว่า "วงปี่พาทย์นางหงส์"
วงปี่พาทย์นางหงส์ใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพมาแต่โบราณก่อนวงปี่พาทย์มอญ สาเหตุที่เรียกว่าปี่พาทย์นางหงส์ ก็เพราะใช้เพลงเรื่องนางหงส์ 2 ชั้น เป็นหลักสำคัญในการบรรเลง นอกจากนี้ยังมีวิวัฒนาการไปใช้บรรเลงเพลงภาษาต่าง ๆ เรียกว่า "ออกภาษา" ด้วย
5.วงปี่พาทย์มอญ
ประกอบด้วยเครื่องดนตรีที่ได้อิทธิพลมาจากมอญ เช่น ฆ้องมอญ ปี่มอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอก ปัจจุบันวงปี่พาทย์มอญมี 3 ขนาด ได้แก่
5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก
5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก
วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งงานมงคล เช่น งานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี และงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลาโศกเศร้า โหยหวน ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน จนบางท่านนึกว่าปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น
5.1 วงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า ประกอบด้วยปี่มอญ ระนาดเอก ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ เปิงมางคอก และเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง
5.2 วงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องห้า แต่เพิ่มระนาดทุ้มและฆ้องมอญวงเล็ก
5.3 วงปี่พาทย์มอญเครื่องใหญ่ มีลักษณะเดียวกับวงปี่พาทย์มอญเครื่องคู่ แต่เพิ่ม ระนาดเอกเหล็กและระนาดทุ้มเหล็ก
วงปี่พาทย์มอญนั้นที่จริงแล้วใช้บรรเลงในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งงานมงคล เช่น งานฉลองพระแก้วมรกตในสมัยธนบุรี และงานอวมงคล เช่น งานศพ แต่ต่อมานิยมบรรเลงในงานศพ เนื่องจากท่วงทำนองเพลงมอญมีลีลาโศกเศร้า โหยหวน ซึ่งเหมาะกับบรรยากาศของงาน จนบางท่านนึกว่าปี่พาทย์มอญใช้บรรเลงเฉพาะในงานศพเท่านั้น
6.วงปี่พาทย์ชาตรี
เป็นวงดนตรีเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์ชาตรี และหนังตลุงทางภาคใต้ของไทย เรียกว่า “ วงปี่พาทย์ชาตรี “ และที่เรียกว่า “ วงปี่พาทย์เครื่องเบา “ เพราะเรียกชื่อให้ตรงกันข้ามกับ “ ปี่พาทย์เครื่องหนัก “
( ปี่พาทย์ไม้แข็ง ) ทั้งนี้เพราะเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ชาตรีมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ปี่พาทย์ชาตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1. ปี่
2. โทนชาตรี
3. กลองชาตรี ( กลองตุ๊ก )
4. ฆ้องคู่
5. ฉิ่ง
6. กรับไม้
เป็นวงดนตรีเก่าแก่ที่มีมาแต่โบราณ ใช้บรรเลงประกอบการแสดงโนราห์ชาตรี และหนังตลุงทางภาคใต้ของไทย เรียกว่า “ วงปี่พาทย์ชาตรี “ และที่เรียกว่า “ วงปี่พาทย์เครื่องเบา “ เพราะเรียกชื่อให้ตรงกันข้ามกับ “ ปี่พาทย์เครื่องหนัก “
( ปี่พาทย์ไม้แข็ง ) ทั้งนี้เพราะเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ชาตรีมีน้ำหนักเบากว่าเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็ง
ปี่พาทย์ชาตรีประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
1. ปี่
2. โทนชาตรี
3. กลองชาตรี ( กลองตุ๊ก )
4. ฆ้องคู่
5. ฉิ่ง
6. กรับไม้
7.วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์
เป็นวงปี่พาทย์ประสมชนิดหนึ่ง มีต้นเค้าสืบเนื่องมาจากละครดึกดำบรรพ์ ซึ่งเจ้าพระยา
เทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร) และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรม
พระยานริศรานุวัตติวงศ์ ร่วมกันปรับปรุงขึ้นโดยอาศัยแนวอุปรากร(Opera) ของ
ตะวันตกเข้ามาประกอบ ละครนี้ได้ชื่อตามโรงละคร ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ตั้ง
ชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” ละครก็เรียกว่า “ละครดึกดำบรรพ์” ด้วย วงปี่พาทย์ที่
บรรเลงในการเล่นละครครั้งนี้จึงมีชื่อว่า “ปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์” สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์
เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้ทรงคัดเลือกเครื่องดนตรีที่มีเสียงทุ้มนุ่มนวล
ประสมเข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับการแสดงละครดึกดำบรรพ์ คือ ระนาดเอก(ใช้ไม้
นวม) ระนาดทุ้ม ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องหุ่ย 7 ใบ มีเสียงเรียงลำดับกัน 7
เสียง ขลุ่ยเพียงออ ตะโพน กลองตะโพน ฉิ่ง ซออู้ (เพิ่มขึ้นภายหลังเมื่อแสดงเรื่อง
สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงบรรจุเพลงสังขาราซึ่งต้องใช้ซออู้สีประกอบ) ขลุ่ยอู้ (มีผู้คิดเพิ่ม
ในภายหลัง)
วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์นี้นอกจากจะเปลี่ยนแปลงการประสมเครื่องดนตรีต่างไป
จากวงปี่พาทย์เดิมแล้ว ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งเครื่องดนตรีอีกด้วย โดยตั้งระนาด
เอกไว้กลาง ระนาดทุ้มอยู่ขวา ระนาดทุ้มเหล็กอยู่ซ้าย ฆ้องวงใหญ่อยู่หลังระนาดเอก
ส่วนระเบียบวิธีการบรรเลงนั้นก็มีแบบแผนเฉพาะตัว ไม่เหมือนกับการบรรเลงในการ
แสดงโขนละครโดยทั่วไป
8. วงปี่พาทย์เสภา
จากวงปี่พาทย์เดิมแล้ว ยังได้เปลี่ยนแปลงวิธีการตั้งเครื่องดนตรีอีกด้วย โดยตั้งระนาด
เอกไว้กลาง ระนาดทุ้มอยู่ขวา ระนาดทุ้มเหล็กอยู่ซ้าย ฆ้องวงใหญ่อยู่หลังระนาดเอก
ส่วนระเบียบวิธีการบรรเลงนั้นก็มีแบบแผนเฉพาะตัว ไม่เหมือนกับการบรรเลงในการ
แสดงโขนละครโดยทั่วไป
8. วงปี่พาทย์เสภา
เป็นวงปี่พาทย์ซึ่งใช้กลองสองหน้ากำกับจังหวะหน้าทับแทนตะโพนและกลองทัด
เริ่มนำมาบรรเลงร่วมกับการเล่นเสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
เริ่มนำมาบรรเลงร่วมกับการเล่นเสภาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
วงเครื่องสาย
วงดนตรีไทยประเภทหนึ่งซึ่งเครื่องดนตรีส่วนใหญ่ในวงจะประกอบด้วยเครื่อง
ดนตรีที่ใช้สายเป็นต้นกำเนินของเสียงดนตรี เช่น ซอด้วง ซออู้ จะเข้ แม้ว่า
เครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงนั้นจะมีวิธีบรรเลงแตกต่างกัน เช่น สี ดีด หรือตี ก็
ตาม จึงเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่า "วงเครื่องสาย"
วงเครื่องสายอาจมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย หรือเครื่องกำกับ
จังหวะ เช่น ฉิ่ง กลองบรรเลงด้วยก็ถือว่าอยู่ในวงเครื่องสายเช่นกันเพราะมีเป็น
จำนวนน้อยที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงด้วยเพื่อช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงด้วยเพื่อ
ช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น
วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี คือ ซอ เครื่องดีด คือ จะเข้ และ
กระจับปี่ ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ
ดนตรีที่ใช้สายเป็นต้นกำเนินของเสียงดนตรี เช่น ซอด้วง ซออู้ จะเข้ แม้ว่า
เครื่องดนตรีที่นำมาบรรเลงนั้นจะมีวิธีบรรเลงแตกต่างกัน เช่น สี ดีด หรือตี ก็
ตาม จึงเรียกวงดนตรีประเภทนี้ว่า "วงเครื่องสาย"
วงเครื่องสายอาจมีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ขลุ่ย หรือเครื่องกำกับ
จังหวะ เช่น ฉิ่ง กลองบรรเลงด้วยก็ถือว่าอยู่ในวงเครื่องสายเช่นกันเพราะมีเป็น
จำนวนน้อยที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงด้วยเพื่อช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงด้วยเพื่อ
ช่วยเพิ่มรสในการบรรเลงให้น่าฟังมากยิ่งขึ้น
วงเครื่องสายเกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ซึ่งมีเครื่องสี คือ ซอ เครื่องดีด คือ จะเข้ และ
กระจับปี่ ผสมในวง ปัจจุบันวงเครื่องสายมี 4 แบบ คือ
1. วงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว
เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวนี้
นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหลักของวงเครื่องสายไทยที่จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เสียมิได้ เพราะแต่ละสิ่งล้วนดำเนินทำนองและมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อผสมเป็น
วงขึ้นแล้ว เสียงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็จะประสมประสานกัน
เป็นอันดี เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลักคือ
เป็นวงเครื่องสายที่มีเครื่องดนตรีผสมเพียงอย่างละ 1 ชิ้น เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
วงเครื่องสายไทยวงเล็ก เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวนี้
นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและถือเป็นหลักของวงเครื่องสายไทยที่จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใด
เสียมิได้ เพราะแต่ละสิ่งล้วนดำเนินทำนองและมีหน้าที่ต่าง ๆ กัน เมื่อผสมเป็น
วงขึ้นแล้ว เสียงและหน้าที่ของเครื่องดนตรีแต่ละอย่างก็จะประสมประสานกัน
เป็นอันดี เครื่องดนตรีที่ผสมอยู่ในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวซึ่งถือเป็นหลักคือ
1. ซอด้วง เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงสูงและกระแสเสียงดัง มีหน้าที่ดำเนิน
ทำนองเพลง เป็นผู้นำวง และเป็นหลักในการดำเนินทำนอง
2. ซออู้ เป็นเครื่องสีที่มีระดับเสียงทุ้ม มีหน้าที่ดำเนินทำนองหยอกล้อ ยั่วเย้า
กระตุ้นให้เกิดความครึกครื้นสนุกสนานในจำพวกดำเนินทำนองเพลง
3. จะเข้ เป็นเครื่องดีดดำเนินทำนองเพลงเช่นเดียวกับซอด้วง แต่มีวิธีการบรรเลงแตกต่าง
ออกไป
4. ขลุ่ยเพียงออ ซึ่งเป็นขลุ่ยขนาดกลาง เป็นเครื่องเป่าดำเนินทำนองโดยสอดแทรกด้วย
เสียงโหยหวนบ้าง เก็บบ้าง ตามโอกาส
5. โทนและรำมะนา เป็นเครื่องตีที่ขึงหนังหน้าเดียว และทั้ง 2 อย่างจะต้องตีให้สอดสลับ
รับกันสนิทสนมผสมกลมกลืนเป็นทำนองเดียวกัน มีหน้าที่ควบคุม
จังหวะหน้าทับ บอกรสและสำเนียงเพลงในภาษาต่าง ๆ และกระตุ้นเร่งเร้าให้เกิดความ
สนุกสนาน
6. ฉิ่ง เป็นเครื่องตรี มีหน้าที่ควบคุมจังหวะย่อยให้การบรรเลงดำเนินจังหวะไปโดย
สม่ำเสมอ หรือช้าเร็วตามความเหมาะสม
เครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวอาจเพิ่มเครื่องที่จะทำให้เกิดความ
ไพเราะเหมาะสมได้อีก เช่น กรับและฉาบเล็กสำหรับตีหยอกล้อยั่วเย้าในจำพวกกำกับจังหวะ
โหม่งสำหรับช่วยควบคุมจังหวะใหญ่
2. วงเครื่องสายไทยเครื่องคู่
คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างละ 2 ชิ้น แต่สำหรับการ
ผสมวงดนตรีจะต้องพิจารณาใคร่ครวญถึงเสียงของเครื่องดนตรีที่จะผสมกันนั้น
ว่าจะบังเกิดความไพเราะหรือไม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่
จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือ
คำว่า เครื่องคู่ ย่อมมีความหมายชัดเจนแล้วว่าเป็นอย่างละ 2 ชิ้น แต่สำหรับการ
ผสมวงดนตรีจะต้องพิจารณาใคร่ครวญถึงเสียงของเครื่องดนตรีที่จะผสมกันนั้น
ว่าจะบังเกิดความไพเราะหรือไม่อีกด้วย เพราะฉะนั้นวงเครื่องสายไทยเครื่องคู่
จึงเพิ่มเครื่องดนตรีในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยวขึ้นเป็น 2 ชิ้น แต่เพียงบางชนิด คือ
1. ซอด้วง 2 คัน แต่ทำหน้าที่ผู้นำวงเพียงคันเดียว อีกคันหนึ่งเป็นเพียงผู้ช่วย
2. ซออู้ 2 คัน ถ้าสีเหมือนกันได้ก็ให้ดำเนินทำนองอย่างเดียวกัน แต่ถ้าสี
เหมือนกันไม่ได้ก็ให้คันหนึ่งหยอกล้อห่าง ๆ อีกคันหนึ่งหยอกล้อยั่วเย้าอย่างถี่
หรือจะผลัดกันเป็นบางวรรคบางตอนก็ได้
3. จะเข้ 2 ตัว ดำเนินทำนองแบบเดียวกัน
4. ขลุ่ย 2 เลา เลาหนึ่งเป็นขลุ่ยเพียงอออย่างในวงเครื่องสายไทยเครื่องเดี่ยว
ส่วนเลาที่เพิ่มขึ้นเป็นขลุ่ยหลีบซึ่งมีขนาดเล็กกว่าขลุ่ยเพียงออ และมีเสียงสูงกว่า
ขลุ่ยเพียงออ 3 เสียงมีหน้าที่ดำเนินทำนองหลบหลีกปลีกทางออกไป ซึ่งเป็นการ
ยั่วเย้าไปในกระบวนเสียงสูง
สำหรับโทน รำมะนา และฉิ่ง ไม่เพิ่มจำนวน ส่วนฉาบเล็กและโหม่ง ถ้าจะใช้ก็
คงมีจำนวนอย่างละ 1 ชิ้นเท่าเดิม ตั้งแต่โบราณมา วงเครื่องสายไทยมีอย่างมากก็
เพียงเครื่องคู่ดังกล่าวแล้วเท่านั้น ในสมัยหลังได้มีผู้คิดผสมวงเป็น วงเครื่องสาย
ไทยวงใหญ่ ขึ้น โดยเพิ่มเครื่องบรรเลงจำพวกดำเนินทำนอง เช่น ซอด้วง ซออู้
และขลุ่ย ขึ้นเป็นอย่างละ 3 ชิ้นบ้าง 4 ชิ้นบ้าง การจะผสมเครื่องดนตรีชนิดใด
เข้ามาในวงนั้นย่อมกระทำได้ ถ้าหากเครื่องดนตรีนั้นมีเสียงเหมาะสมกลมกลืน
กับเครื่องอื่น ๆ แต่จะเพิ่มเติมในส่วนเครื่องกำกับจังหวะ เช่น โทน รำมะนา ฉิ่ง
ฉาบ และโหม่ง ไม่ได้ ได้แต่เปลี่ยนเป็นอย่างอื่นไป เช่น ใช้กลองแขกแทนโทน
รำมะนา
3. วงเครื่องสายผสม
เป็นวงเครื่องสายที่นำเอาเครื่องดนตรีต่างชาติเข้ามาร่วมบรรเลงกับเครื่องสาย
ไทย การเรียกชื่อวงเครื่องสายผสมนั้นนิยมเรียกตามชื่อของเครื่องดนตรีต่างชาติ
ที่นำเข้ามาร่วมบรรเลงในวง เช่น นำเอาขิมมาร่วมบรรเลงกับ ซอด้วง ซออู้ ขลุ่ย
และเครื่องกำกับจังหวะต่าง ๆ แทนจะเข้ ก็เรียกว่า "วงเครื่องสายผสมขิม" หรือ
นำเอาออร์แกนหรือไวโอลินมาร่วมบรรเลงด้วยก็เรียกว่า "วงเครื่องสายผสม
ออร์แกน" หรือ "วงเครื่องสายผสมไวโอลิน" เครื่องดนตรีต่างชาติที่นิยมนำมา
บรรเลงเป็นวงเครื่องสายผสมนั้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ขิม ไวโอลิน
ออร์แกน เปียโน แอกคอร์เดียน กู่เจิง เป็นต้น
4. วงเครื่องสายปี่ชวา
เป็นวงเครื่องสายไทยทั้งวงบรรเลงประสมกับวงกลองแขก โดยไม่ใช้โทนและ
รำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออกเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วง
กลองแขกเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีจะต้องมีไหวพริบและความ
เชี่ยวชาญในการบรรเลงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่งกำกับจังหวะจะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดี
ที่สุดจึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ เพลงที่วงเครื่องสายปี่ชวานิยมใช้บรรเลงเป็นเพลง
โหมโรง ได้แก่ เพลงเรื่องชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำ เพลงสะระหม่า
แล้วออกเพลงแปลง เพลงออกภาษา แล้วกลับมาออกเพลงแปลงอีกครั้งหนึ่ง
รำมะนา และใช้ขลุ่ยหลีบแทนขลุ่ยเพียงออกเพื่อให้เสียงเข้ากับปี่ชวาได้ดี เดิมเรียกว่า วง
กลองแขกเครื่องใหญ่ วงเครื่องสายปี่ชวาเกิดขึ้นในปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระ
จอมเกล้าเจ้าอยู่หัวการบรรเลงเครื่องสายปี่ชวานั้น นักดนตรีจะต้องมีไหวพริบและความ
เชี่ยวชาญในการบรรเลงเป็นพิเศษ โดยเฉพาะฉิ่งกำกับจังหวะจะต้องเป็นคนที่มีสมาธิดี
ที่สุดจึงจะบรรเลงได้อย่างไพเราะ เพลงที่วงเครื่องสายปี่ชวานิยมใช้บรรเลงเป็นเพลง
โหมโรง ได้แก่ เพลงเรื่องชมสมุทร เพลงโฉลก เพลงเกาะ เพลงระกำ เพลงสะระหม่า
แล้วออกเพลงแปลง เพลงออกภาษา แล้วกลับมาออกเพลงแปลงอีกครั้งหนึ่ง
วงมโหร ี
วงมโหรี เป็นวงดนตรีไทยที่มีวิวัฒนาการสืบเนื่องมาอย่างยาวนาน จัดเป็นการ
ประสมวงที่มีความสมบูรณ์ในด้านเสียงสูงสุด กล่าวคือ เป็นการรวมเอาเครื่อง
ดนตรีทำทำนองของวงปี่พาทย์ที่มีเครื่องตี คือ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอก
เหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ร่วมกับเครื่องดนตรีในวง
เครื่องสายที่มีเครื่องดีด คือ จะเข้ เครื่องสี คือ ซอด้วง และซออู้ และเครื่องเป่า
คือ ขลุ่ย เอาไว้ด้วยกัน การนำเอาวงปี่พาทย์และวงเครื่องสายมารวมกันนี้ ทำให้
วงมโหรีเป็นการรวมกันของเครื่องดนตรีทุกตระกูล คือ ดีด สี ตี และเป่า มา
รวมอยู่ในวงเดียวกันได้อย่างลงตัว ละเอียดอ่อน และละเมียดละไม มีแนวทาง
การบรรเลงที่นุ่มนวล ไพเราะ นิยมใช้บรรเลงในพิธีการที่ศักดิ์สิทธิและเป็น
มงคลต่างๆ
วงมโหรี อาจารย์ณรงค์ เขียนทองกุล กล่าวถึงวงมโหรีไว้ใน “เกร็ดความรู้ว่า
ด้วยเรื่องมโหรี” ว่า “...มโหรีสงสัยว่าเป็นศัพท์คำเดียวกับคำว่ามโหระทึก…”
ครูมนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของวงมโหรีไว้ใน “หนังสือ
ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ” ว่า “...เครื่องดีดสีของไทยโบราณมีอยู่ ๒
อย่าง คือ “บรรเลงพิณ” อย่างหนึ่ง กับ “ขับไม้” อย่างหนึ่ง “การบรรเลงพิณ”
นั้นใช้แต่พิณน้ำเต้า (สายเดียว) สิ่งหนึ่ง ผู้ที่ดีดพิณเป็นผู้ขับร้องเอง (การบรรเลง
พิณนี้ตามหลักการประสมวงไม่ถือว่าเป็นวงดนตรี แต่อนุโลมว่าเป็นการบรรเลง
แบบโบราณที่เป็นต้นแบบการบรรเลงในรูปแบบอื่นๆในเวลาต่อมา) ส่วน “ขับ
ไม้” นั้นมีคนขับลำ
นำ ๑ คน สีซอสามสาย ๑ คน กับไกวบัณเฑาะว์อีกคน ๑ (การขับไม้ใช้บรรเลงประกอบ
พิธีสำคัญเช่นพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร หรือพระราชพิธีสมโภชช้างเผือก
เป็นต้น)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เอาบรรเลงพิณกับขับไม้นี้มารวมกันและเปลี่ยนแปลงขยายวง
ขึ้นเรียกว่า “มโหรี” โดยมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน คือ คนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้
จังหวะเอง ๑ สีซอสามสาย ๑ ดีดกระจับปี่ (แทนพิณน้ำเต้า) ๑ กับตีทับประกอบจังหวะ ๑
และสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีนี่เอง ก็ได้เพิ่ม “ขลุ่ย” สำหรับเป่าลำนำ กับรำมะนา
ประกอบจังหวะเป็นคู่กับ “ทับ” ขึ้นอีก ต่อมาในปลายสมัยอยุธยาได้เพิ่ม “ฉิ่ง” เข้าอีก
อย่างหนึ่ง (เข้าใจว่าให้คนขับร้องลำนำตี และเลิกกรับพวง เพราะในสมัยกรุงธนบุรีก็
ปรากฏว่ามโหรีมี ๖ คน)...”
บทความของครูมนตรี ตราโมท ที่อ้างอิงไว้ข้างต้นนี้ ทำให้เราได้รู้ว่าวิวัฒนาการของวง
มโหรีว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นการรวมเอาวงบรรเลงพิณและขับไม้เข้า
ด้วยกันก่อนในเบื้องต้น แล้วจึงมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีกในยุค
ต่อๆมา จนเกิดเป็นวงมโหรีที่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอนในปัจจุบัน
ด้วยเรื่องมโหรี” ว่า “...มโหรีสงสัยว่าเป็นศัพท์คำเดียวกับคำว่ามโหระทึก…”
ครูมนตรี ตราโมท ได้กล่าวถึงเรื่องราวความเป็นมาของวงมโหรีไว้ใน “หนังสือ
ดุริยางคศาสตร์ไทย ภาควิชาการ” ว่า “...เครื่องดีดสีของไทยโบราณมีอยู่ ๒
อย่าง คือ “บรรเลงพิณ” อย่างหนึ่ง กับ “ขับไม้” อย่างหนึ่ง “การบรรเลงพิณ”
นั้นใช้แต่พิณน้ำเต้า (สายเดียว) สิ่งหนึ่ง ผู้ที่ดีดพิณเป็นผู้ขับร้องเอง (การบรรเลง
พิณนี้ตามหลักการประสมวงไม่ถือว่าเป็นวงดนตรี แต่อนุโลมว่าเป็นการบรรเลง
แบบโบราณที่เป็นต้นแบบการบรรเลงในรูปแบบอื่นๆในเวลาต่อมา) ส่วน “ขับ
ไม้” นั้นมีคนขับลำ
นำ ๑ คน สีซอสามสาย ๑ คน กับไกวบัณเฑาะว์อีกคน ๑ (การขับไม้ใช้บรรเลงประกอบ
พิธีสำคัญเช่นพระราชพิธีสมโภชพระมหาเศวตฉัตร หรือพระราชพิธีสมโภชช้างเผือก
เป็นต้น)
ในสมัยกรุงศรีอยุธยาได้เอาบรรเลงพิณกับขับไม้นี้มารวมกันและเปลี่ยนแปลงขยายวง
ขึ้นเรียกว่า “มโหรี” โดยมีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน คือ คนขับร้องลำนำและตีกรับพวงให้
จังหวะเอง ๑ สีซอสามสาย ๑ ดีดกระจับปี่ (แทนพิณน้ำเต้า) ๑ กับตีทับประกอบจังหวะ ๑
และสมัยกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานีนี่เอง ก็ได้เพิ่ม “ขลุ่ย” สำหรับเป่าลำนำ กับรำมะนา
ประกอบจังหวะเป็นคู่กับ “ทับ” ขึ้นอีก ต่อมาในปลายสมัยอยุธยาได้เพิ่ม “ฉิ่ง” เข้าอีก
อย่างหนึ่ง (เข้าใจว่าให้คนขับร้องลำนำตี และเลิกกรับพวง เพราะในสมัยกรุงธนบุรีก็
ปรากฏว่ามโหรีมี ๖ คน)...”
บทความของครูมนตรี ตราโมท ที่อ้างอิงไว้ข้างต้นนี้ ทำให้เราได้รู้ว่าวิวัฒนาการของวง
มโหรีว่ามีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา โดยเป็นการรวมเอาวงบรรเลงพิณและขับไม้เข้า
ด้วยกันก่อนในเบื้องต้น แล้วจึงมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเครื่องดนตรีเพิ่มขึ้นอีกในยุค
ต่อๆมา จนเกิดเป็นวงมโหรีที่มีระเบียบแบบแผนที่แน่นอนในปัจจุบัน
วิวัฒนาการของวงมโหรี
วิวัฒนาการของวงมโหรีสามารถสรุปได้คร่าวๆ ว่า เริ่มจากการรวมเอาวง
บรรเลงพิณและวงขับไม้เข้าด้วยกัน เกิดเป็นวงมโหรีเครื่องสี่ แล้วพัฒนา
เพิ่มเติมขึ้นเป็นวงมโหรีเครื่องห้า เครื่องหก ตามลำดับ วงมโหรีนั้นเดิมคงเป็น
ของผู้ชายเล่น แต่ต่อมาคนทั่วไปเกิดชอบฟังกันแพร่หลายทั่วไป ผู้มีบรรดาศักดิ์
ซึ่งมีบริวารมากจึงหัดให้ผู้หญิงเล่นมโหรีบ้าง หลังจากนั้นมโหรีก็ กลายเป็นของ
ผู้หญิงเล่นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี (สมเด็จฯกรมพระยา ดำรง
ราชานุภาพ : ตำนานเครื่องมโหรี) ดังจะพบได้ตามงานจิตรกรรม ประติมากรรม
ใน ศิลปะสมัยอยุธยามักเขียนหรือแกะสลักเป็นภาพสตรีกำลังบรรเลงเครื่อง
ดนตรีที่น่าจะ เป็นวงมโหรี
๑. วงมโหรีเครื่องสี่ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๒. วงมโหรีเครื่องห้า (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๓. วงมโหรีเครื่องหก (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๔. วงมโหรีเครื่องสิบ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๕. วงมโหรีสมัยกรุงธนบุรี
๖. วงมโหรีสมัยรัชกาลที่ ๑ (วงมโหรีเครื่องแปด)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระราชกำหนดห้ามมิให้ผู้อื่นหัดละครผู้หญิง
ยกเว้นละครที่เป็นของหลวงซึ่งรู้จักกันว่าละครใน ดังนั้น บรรดาเจ้านายและขุน
นางบางส่วนจึงให้บริวารผู้หญิงฝึกหัดมโหรีและผู้ชายฝึกหัดปี่พาทย์ บางส่วนก็
ฝึกหัดละครชายล้วน ซึ่งรู้จักกันว่าละครนอก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงประทานพระอธิบายว่า “...มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่มเติมเครื่องมโหรี
ขึ้นอีกหลายอย่าง เอาเครื่องปี่พาทย์เข้าเพิ่มเป็นพื้น เป็นแต่ทำขนาดย่อมลง ให้
สมกับผู้หญิงเล่น (และทั้งเพื่อลดเสียงเครื่องตีเพื่อมิให้ดังเกินไป เพื่อจะได้ระดับ
กลมกลืนกับเครื่องดีด เครื่องสี )…”
วิวัฒนาการของวงมโหรีสามารถสรุปได้คร่าวๆ ว่า เริ่มจากการรวมเอาวง
บรรเลงพิณและวงขับไม้เข้าด้วยกัน เกิดเป็นวงมโหรีเครื่องสี่ แล้วพัฒนา
เพิ่มเติมขึ้นเป็นวงมโหรีเครื่องห้า เครื่องหก ตามลำดับ วงมโหรีนั้นเดิมคงเป็น
ของผู้ชายเล่น แต่ต่อมาคนทั่วไปเกิดชอบฟังกันแพร่หลายทั่วไป ผู้มีบรรดาศักดิ์
ซึ่งมีบริวารมากจึงหัดให้ผู้หญิงเล่นมโหรีบ้าง หลังจากนั้นมโหรีก็ กลายเป็นของ
ผู้หญิงเล่นมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยายังเป็นราชธานี (สมเด็จฯกรมพระยา ดำรง
ราชานุภาพ : ตำนานเครื่องมโหรี) ดังจะพบได้ตามงานจิตรกรรม ประติมากรรม
ใน ศิลปะสมัยอยุธยามักเขียนหรือแกะสลักเป็นภาพสตรีกำลังบรรเลงเครื่อง
ดนตรีที่น่าจะ เป็นวงมโหรี
๑. วงมโหรีเครื่องสี่ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๒. วงมโหรีเครื่องห้า (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๓. วงมโหรีเครื่องหก (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๔. วงมโหรีเครื่องสิบ (สมัยกรุงศรีอยุธยา)
๕. วงมโหรีสมัยกรุงธนบุรี
๖. วงมโหรีสมัยรัชกาลที่ ๑ (วงมโหรีเครื่องแปด)
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น มีพระราชกำหนดห้ามมิให้ผู้อื่นหัดละครผู้หญิง
ยกเว้นละครที่เป็นของหลวงซึ่งรู้จักกันว่าละครใน ดังนั้น บรรดาเจ้านายและขุน
นางบางส่วนจึงให้บริวารผู้หญิงฝึกหัดมโหรีและผู้ชายฝึกหัดปี่พาทย์ บางส่วนก็
ฝึกหัดละครชายล้วน ซึ่งรู้จักกันว่าละครนอก สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
ทรงประทานพระอธิบายว่า “...มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เพิ่มเติมเครื่องมโหรี
ขึ้นอีกหลายอย่าง เอาเครื่องปี่พาทย์เข้าเพิ่มเป็นพื้น เป็นแต่ทำขนาดย่อมลง ให้
สมกับผู้หญิงเล่น (และทั้งเพื่อลดเสียงเครื่องตีเพื่อมิให้ดังเกินไป เพื่อจะได้ระดับ
กลมกลืนกับเครื่องดีด เครื่องสี )…”
วงมโหรีสมัยโบราณ (มโหรีเครื่องสี่)
มีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนสีซอสามสาย คนดีดพิณ (กระจับปี่) คนตี
ทับ (โทน) และคนร้องซึงตีกรับพวงด้วยเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง
คือ ซอสามสายกับพิณหรือกระจับปี่ ทับ ซึ่งในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า โทน ทำ
หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อให้รู้ประโยคและทำนองเพลง ส่วนกรับพวงที่
คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย
วงมโหรีเครื่องหก
ต่อมาวงมโหรีได้เพิ่มเติมเครื่องดนตรีขึ้นมาอีก ๒ อย่าง และเปลี่ยนแปลงไป
อย่างหนึ่งเป็นวงมโหรีเครื่องหก เพราะมีผู้บรรเลง ๖ คน คือซอสามสาย พิณหรือ
กระจับปี่ ทับหรือโทน รำมะนา (เพิ่มใหม่) ตีสอดสลับกับโทนหรือทับ ขลุ่ย (เพิ่มใหม่)
ช่วยดำเนินทำนองเพลง และกรับพวงของเดิมเปลี่ยนมาเป็นฉิ่ง
วงมโหรีวงเล็ก
วงมโหรีได้มีวิวัฒนาการ เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ ครั้งแรกได้เพิ่มฆ้อง
วงกับระนาดเอก ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ส่วนพิณหรือกระจับปี่
นั้น เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเมื่อยล้าเมื่อพบจะเข้ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของ
มอญเป็นเครื่องดนตรีที่วางบนพื้นราบและดีดเป็นเสียงเช่นเดียวกัน ทั้งนมที่
บังคับเสียงเรียงลำดับก็ถี่พอสมควร สะดวกและคล่องแคล่วในการบรรเลงดีกว่า
จึงนำจะเข้มาแทนพิณหรือกระจับปี่ ซึ่งนับเป็นวงมโหรีวงเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
ส่วนหน้าที่ในการบรรเลงก็เป็นดังนี้ ซอสามสาย บรรเลงเป็นเสียงยาวโหยหวน
บ้าง เก็บถี่ ๆบ้างตามทำนองเพลง และเป็นผู้คลอเสียงร้องด้วย
วงมโหรีเครื่องคู่
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรี
ก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน
จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้น
อีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลิบ (คัน
เล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่
วงมโหรีเครื่องใหญ่
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่ม
ระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึง
เลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูก
ระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทอง
รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้
บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง
เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลง
ให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะ
แก่กำลัง อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลกับเครื่อง
ดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะกลบพวกเครื่องสายหมด
มีผู้บรรเลงเพียง ๔ คน เท่านั้น คือ คนสีซอสามสาย คนดีดพิณ (กระจับปี่) คนตี
ทับ (โทน) และคนร้องซึงตีกรับพวงด้วยเครื่องดนตรีที่ทำหน้าที่ดำเนินทำนอง
คือ ซอสามสายกับพิณหรือกระจับปี่ ทับ ซึ่งในสมัยปัจจุบัน เรียกว่า โทน ทำ
หน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับ เพื่อให้รู้ประโยคและทำนองเพลง ส่วนกรับพวงที่
คนร้องตีนั้นกำกับจังหวะย่อย
วงมโหรีเครื่องหก
ต่อมาวงมโหรีได้เพิ่มเติมเครื่องดนตรีขึ้นมาอีก ๒ อย่าง และเปลี่ยนแปลงไป
อย่างหนึ่งเป็นวงมโหรีเครื่องหก เพราะมีผู้บรรเลง ๖ คน คือซอสามสาย พิณหรือ
กระจับปี่ ทับหรือโทน รำมะนา (เพิ่มใหม่) ตีสอดสลับกับโทนหรือทับ ขลุ่ย (เพิ่มใหม่)
ช่วยดำเนินทำนองเพลง และกรับพวงของเดิมเปลี่ยนมาเป็นฉิ่ง
วงมโหรีวงเล็ก
วงมโหรีได้มีวิวัฒนาการ เพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงมาโดยลำดับ ครั้งแรกได้เพิ่มฆ้อง
วงกับระนาดเอก ต่อมาจึงได้เพิ่มซอด้วง ซออู้ และขลุ่ย ส่วนพิณหรือกระจับปี่
นั้น เป็นเครื่องดนตรีที่บรรเลงเมื่อยล้าเมื่อพบจะเข้ซึ่งเดิมเป็นเครื่องดนตรีของ
มอญเป็นเครื่องดนตรีที่วางบนพื้นราบและดีดเป็นเสียงเช่นเดียวกัน ทั้งนมที่
บังคับเสียงเรียงลำดับก็ถี่พอสมควร สะดวกและคล่องแคล่วในการบรรเลงดีกว่า
จึงนำจะเข้มาแทนพิณหรือกระจับปี่ ซึ่งนับเป็นวงมโหรีวงเล็กที่ใช้อยู่ในปัจจุบันนี้
ส่วนหน้าที่ในการบรรเลงก็เป็นดังนี้ ซอสามสาย บรรเลงเป็นเสียงยาวโหยหวน
บ้าง เก็บถี่ ๆบ้างตามทำนองเพลง และเป็นผู้คลอเสียงร้องด้วย
วงมโหรีเครื่องคู่
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
วงปี่พาทย์ได้เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กกลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องคู่ วงมโหรี
ก็เพิ่มระนาดทุ้มกับฆ้องวงเล็กบ้าง ทั้งเพิ่มซอด้วง ซออู้ ขึ้นเป็นอย่างละ๒ คัน
จะเข้เพิ่มเป็น ๒ ตัว ขลุ่ยนั้นเดิมมีแต่ขลุ่ยเพียงออก็เพิ่ม ขลุ่ยหลิบ (เลาเล็ก) ขึ้น
อีก ๑ เลา เหมือนในวงเครื่องสาย ส่วนซอสามสายก็เพิ่มซอสามสายหลิบ (คัน
เล็กและเสียงสูงกว่า) อีก ๑ คัน เครื่องประกอบจังหวะคงเดิม เรียกว่า วงมโหรีเครื่องคู่
วงมโหรีเครื่องใหญ่
ถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ วงปี่พาทย์ได้เพิ่ม
ระนาดทุ้มกับระนาดเอกเหล็กขึ้นอีก ๒ ราง กลายเป็นวงปี่พาทย์เครื่องใหญ่ มโหรีจึง
เลียนแบบ โดยเพิ่มระนาดทุ้มเหล็กขึ้นบ้าง ส่วนระนาดเอกเหล็กนั้นเปลี่ยนเป็นสร้างลูก
ระนาดด้วยทองเหลียง เพราะเทียบให้เสียงสูงไพเราะกว่าเหล็ก เรียกว่าระนาดทอง
รวมทั้งวงเรียกว่าวงมโหรีเครื่องใหญ่ ซึ่งได้ถือเป็นแบบปฏิบัติใช้บรรเลงมาจนปัจจุบันนี้
บรรดาเครื่องดนตรีต่าง ๆ ที่วงมโหรีได้เลียนแบบมาจากวงปี่พาทย์ คือ ระนาดเอก
ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก (เป็นระนาดทอง) ระนาดทุ้มเหล็ก (บางวงทำด้วยทองเหลือง
เรียกว่า ระนาดทุ้มทองก็มี) ฆ้องวงใหญ่ และฆ้องวงเล็กนั้น ทุกสิ่งจะต้องย่อขนาดลดลง
ให้เล็กเพราะสมัยโบราณผู้บรรเลงมโหรีมีแต่สตรีทั้งนั้น จึงต้องลดขนาดลงให้พอเหมาะ
แก่กำลัง อีกประการหนึ่งการลดขนาดเครื่องตีเหล่านี้ลงก็เพื่อให้เสียงดังสมดุลกับเครื่อง
ดนตรีประเภทดีดสี มิฉะนั้นเสียงจะกลบพวกเครื่องสายหมด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น